อยากจะเป็นเจ้าของแบรนด์ทำยังไง?

1.หาสินค้าที่ใช่
สิ่งแรกเลย เราก็ต้องหาสินค้าที่เราต้องการก่อน ว่าเราอยากจะผลิตอะไร อยากขายอะไร อาจจะเริ่มจากความชอบส่วนตัวก่อน หรือสินค้าประเภทที่เราคุ้นเคย เพื่อที่เวลาเราจะผลิตจริงจะได้ไม่ต้องมานั่งเรียนรู้ใหม่ทั้งหมดให้เสียเวลา

2.ศึกษาตลาดก่อน ให้รู้เขารู้เรา
เมื่อเรามีสินค้าที่เราต้องการแล้ว ก็มาถึงเวลาสำรวจตลาดว่าสินค้าชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมในตลาดหรือเปล่า มีแนวโน้มทางธุรกิจเป็นอย่างไรบ้าง แน่นอนว่าคงไม่ใครอยากเป็นเจ้าของแบรนด์ที่เป็นกระแสอยู่ช่วงเดียวแล้วไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไปอย่างแน่นอน

3.ร่างภาพแบรนด์อย่างคร่าว ๆ
การร่างภาพแบรนด์ จะทำให้เราเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น อาจเริ่มโดยการลองหากลุ่มลูกค้าของเราว่าคือใคร ยกตัวอย่างเช่น หากลูกค้าสินค้าของเราเป็นครีมสำหรับผู้หญิง ก็ต้องทำความเข้าใจว่าลูกค้าเป้าหมาย ซื้อสินค้าอย่างไร ใช้อย่างไร ชอบแบบไหน ซื้อที่ไหนถ้าสินค้าที่จะซื้อไม่มีขายมีสินค้าที่ทดแทนได้หรือไม่

4.เตรียมตัววางแผนทางการเงิน
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก ๆ แน่นอนว่าเรามีเงินเพียงพอสำหรับผลิตสินค้า แต่ก็อย่าลืมว่าเราจะต้องมีเงินทุนหมุนสำหรับเรื่องอื่น ๆ ด้วย อาทิเช่น การโปรโมทสินค้า การทำการตลาดเพื่อให้คนรู้จัก ได้เห็น ได้ลองใช้ เป็นต้น การวางแผนทางการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญ

5.มองหาโรงงานที่ใช่
เมื่อเรามีสินค้าที่ใช่ เงินทุนที่พร้อม ก็ถึงเวลาที่เราจะมองหาโรงงานที่ใช่ โดยควรเลือกโรงงานที่ได้มาตราฐาน โดยดูว่าทางโรงงานมีใใบรับรองมาตรฐานโรงงานอะไรบ้าง อาทิเช่น GMP , HACCP ,Halal ,Codex เป็นต้น ..

4 ขั้นตอนการขายออนไลน์ให้โคตรปัง

สุดจะปัง! ขายของออนไลน์ยังไงให้ได้จับเงิน มุ่งสู่การเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อย่างมืออาชีพ

1. วางแผนการตลาด
-ตั้งชื่อร้านให้เด่นๆ ใครเห็นก็อยากเข้า
-หากลุ่มลูกค้าที่ใช่ ใครใช้ก็ชอบ ให้เจอคนที่เค้าอยากสนับสนุนแบรนด์คุณ
-ตั้งเป้าหมาย/วัตถุประสงค์แบบวัดผลได้ ลิสต์เป็นข้อๆ เลยยิ่งดีว่าจะทำอะไรให้ได้อะไร

2. เลือกช่องทางการโปรโมทสินค้า
-โซเซียลมีเดีย ex. Facebook และ Instagram
-พื้นที่สำหรับขายและโฆษณา ex. Shopee หรือ LAZADA
-เว็บไซต์
-LINE Official Account (LINE OA)

3. เลือกช่องทางการชำระเงิน
-บัญชีธนาคาร-บัตรเครดิต-เก็บเงินปลายทาง

4. วัดผลลัพธ์การตลาดออนไลน์
ข้อนี้จะสอดคล้องกับข้อ 1.3 เมื่อหวังผลแล้วก็ต้องมาดูผลที่ได้ ว่าผลลัพธ์นั้นใกล้เคียงกับเป้าหมายที่เราวางไว้หรือเปล่า การวัดผลลัพธ์ จะช่วยให้วิเคราะห์หาแนวทางปรับปรุงเกี่ยวกับสินค้าของเราได้

เริ่มต้นอาจไม่ง่าย แต่ดีกว่าไม่เริ่มต้นเลย ทุกอย่างต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ศึกษาและวัดผลไปเรื่อยๆ ทำผลงานให้ดีขึ้นอย่างสมควร ให้ลูกค้าเลือกซื้อของกับเราให้ได้!

ก่อนเริ่มต้องรู้ 5 เช็คลิสต์ ต้องทำก่อนขายออนไลน์

1. โฟกัสที่ลูกค้า เข้าใจตลาด
คนที่คิดจะเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ เกือบร้อยทั้งร้อย รู้อยู่แล้วว่าตัวเองอยากจะขายอะไรดังนั้น โฟกัสที่ควรให้ความสนใจมากๆ จึงเป็น “ลูกค้า” ว่าคนเหล่านี้เป็นใคร ให้ใช้เวลาศึกษาลักษณะของเขาว่าอายุเท่าไหร่ เพศอะไร อาชีพอะไร มีความสนใจแบบไหน มีรายได้เฉลี่ยเท่าไหร่ ความถี่ในการซื้อสินค้า หรือข้อมูลต่างๆ ที่คิดว่ามีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของพวกเขาจากนั้นต่อมาก็มาดูที่ “ตลาด” ว่าในตลาดที่คุณกำลังสนใจอยู่นี้ มีคู่แข่งอยู่มากน้อยแค่ไหน พวกเขาทำอะไร ขายยังไง ตั้งราคาที่เท่าไหร่ เพราะอะไร ตลาดนี้น่าลงไปเล่นด้วยไหม ฯลฯ ลิสต์รายชื่อ(ว่าที่)คู่แข่งของคุณออกมา และศึกษาไปทีละเจ้า วิธีการสืบที่ง่ายที่สุดก็คือ เว็บไซต์และโซเชียลมีเดียของคู่แข่งนั่นเอง

2. มีแผนธุรกิจ
คุณรู้แล้วว่าจะขายอะไร ลูกค้าเป็นใคร ตลาดหรือคู่แข่งเป็นอย่างไรแล้ว ให้นำข้อมูลทั้งหมดที่มีมาสร้างเป็นแผนการที่จะใช้ทำธุรกิจอย่างเป็นรูปเป็นร่าง เพราะการวางแผนธุรกิจเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของความสำเร็จแผนธุรกิจนี้ไม่จำเป็นต้องหนาเป็นปึ๊ง 20 หน้ากระดาษ แต่ควรมีส่วนประกอบสำคัญอย่าง ขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน กรอบเวลาการทำงาน และตัวชี้วัดถึงความก้าวหน้าในการทำงาน เพื่อช่วยให้คุณมองเห็นเส้นทางการเดินหน้าของธุรกิจว่าอยู่ตรงไหนของแผนทั้งหมด หรือมีจุดไหนที่ต้องแก้ไขหรือช่องทางน่าสนใจทางอื่นให้ไปหรือไม่

3. รู้ระดับเงินทุนที่มี
เงินทุนหรือเงินลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ยิ่งตั้งเป้าธุรกิจไว้ใหญ่มากเท่าไหร่ ยิ่งต้องรู้รายละเอียดของเม็ดเงินทุนที่มีและการใช้เงินทุนมากขึ้นเท่านั้น เพราะมีโอกาสสูงมากที่ธุรกิจจะเงินทุนหมดก่อนที่จะเริ่มขายของรับเงินจากลูกค้า

4. เห็นคุณค่าของสินค้าและบริการที่ขาย
ไม่ว่าคุณขายขนมห่อละ 20 บาท หรืออาหารพรีเมี่ยมกล่องละหลายพันบาท ถ้าตัดสินใจเลือกที่จะขาย คุณต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงคุณค่าและความจำเป็นของสินค้านั้น เพื่อโฆษณาถ่ายทอดให้กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าเห็นภาพเดียวกับคุณให้ได้มากที่สุด หรือพูดแบบภาษาชาวบ้านว่า “อินเนอร์มันต้องได้” ไม่ว่าสิ่งที่ขายจะเป็นสินค้า/บริการที่จำเป็นหรือไม่ก็ตาม

5. เลือกชื่อที่ใช้เป็นชื่อเว็บไซต์ได้
เมื่อตัวธุรกิจมีรูปร่างชัดเจน ก็พร้อมเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ขั้นตอนนี้ควรมาพร้อมกับชื่อแบรนด์หรือบริษัท เลือกชื่อแบรนด์ที่สามารถตั้งเป็นชื่อเว็บไซต์ได้หรือหากธุรกิจมีมานานก่อนหน้านี้แล้ว ก็ให้ใช้ชื่อนั้นแต่อาจเพิ่มคำที่บ่งบอกถึงสินค้าหรือบริการที่ขาย